วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โดยเครื่อง spirometer

Lung Capacity(การวัดความจุปอด)
Spirometer
1.  ตั้งระดับเข็มบนสเกลให้อยู่ที่ศูนย์ (0)\r\n2. ให้ผู้ทดสอบยืนตัวตรงหน้าเครื่อง จับหลอดเป่าอยู่ระดับปาก\r\n3. หายใจเข้าเต็มที่สุด และเป่าลมเข้าในหลอดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ระวังอย่าให้ตัวงอหรือแขนบีบหน้าอก)\r\n4. ทดสอบ 2 ครั้ง ใช้ค่าที่มาก\r\n5. ผลการทดสอบวัดเป็นมิลลิลิตร นำผลที่ได้มาหารด้วยน้ำหนักตัวผู้ทดสอบ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน

Lung Capacity รูปที่ 1 Lung Capacity รูปที่ 2 Lung Capacity รูปที่ 3 Lung Capacity รูปที่4

การตรวจสมรรถภาพปอด

spirometry หมายถีงการตรวจสภาพปอดโดยวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้า และออกจากปอด โดยใช้เครื่อง spirometer ผลที่ได้จะเป็นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่าปริมาตรเวลาเรียกว่า spirogram

ข้อบ่งชี้ในการทำ spirometry ในด้านอาชีวเวชศาสตร์

  • เพื่อการวินิจฉัยโรค


  1. ในผู้ที่มีอาการหรืออาการแสดงของโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่อาการเหนื่อย ไอ หายใจมีเสียงหวีด หวือ เจ็บหน้าอกหรือตรวจร่างกายพบเสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูป หรือผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ เช่น การตรวจภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขี้น หรือตรวจพบออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ หรือคาร์บอนไดออกไซต์สูง เป็นต้น
  2. เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคระบบทางเดินหายใจ
  3. เพื่อตรวจคัดกรอง ในผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหายใจ ได้แก่ ผู้ีที่สูบบุหรี่ คนทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการทำงาน เช่นคนทำงานในเหมืองแร่ คนทำงานที่สัมผัสฝุ่น ไอ ฟูม สารตัวทำละลาย และสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจเป็นต้น
  • ติดตามการดำเนินโรค  การติดตามคนทำงานที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคระบบหายใจจากการทำงาน โดยการเปรียบเทียบผลการตรวจในปีที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นข้อมูลในการปรับปรุงมาตรการควบคุม ป้องกันโรคจากการทำงานได้
  • ประเมินความทุพพลภาพ


ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพปอด
เตรียมผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยไม่ประหม่า
  1. นั่งตัวตรงและหน้าตรง เท้าทั้งสองข้างแตะพื้น
  2. หนีบจมูกด้วย nose clip
  3. หายใจเข้าเต็มที่(จนถึง total lung capacity)
  4. อม mouthpiece และปิดปากให้แน่นรอบ mouthpiece
  5. หายใจออกให้เร็วและแรงเต็มที่จนหมด (จนถึง residual volume)
  6. สูดหายใจเข้าเต็มที่ สำหรับเครื่องมือทำ flow volume loop ได้
  7. ทำซ้ำให้ได้กราฟที่เข้าเกณฑ์อย่างน้อย 3 กราฟ โดยสามารถทำซ้ำได้ไม่เกิน 8 ครั้ง
  8. พิจารณากราฟที่ได้ว่ามีข้อบกพร่องที่ใด และแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจแก้ไขจนกราฟที่ได้เข้าเกณฑ์ acceptability & resproducibility